วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นิทเช่ : ในฐานะรากฐานแนวความคิดปรัชญาหลังสมัยใหม่

Friedrich Wilhelm Nietzsche


Nietzsche (นิทเช่) ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนสุดยอดคนหนึ่งของเยอรมัน ร่วมกับ Goethe และ Luther. หลาย ต่อหลายคนในยุโรปรู้จักเขาในฐานะนักเขียนมากกว่านักปรัชญา. ต่อมาผมอยากให้พวกเรามาดูเรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติของเขาไปตามลำดับ ซึ่งคงไม่ทำให้เราเสียเวลามากนัก

1. Life (ชีวิตของนิทเช่)
- raised by women (ถูก เลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมาโดยผู้หญิง) / มีคนถามว่ามันสำคัญตรงไหน. ในหนังสือของเขา ถ้าไปอ่าน วิธีเขียนของเขาไม่ค่อยชื่นชมผู้หญิงมากนัก เขามักจะด่าว่าผู้หญิงว่าเป็นพวกปากเสียมาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะตั้งแต่เด็กอายุ 15 เป็นต้นมา เขาอยู่กับผู้หญิง 3-4 คนในครอบครัว (แต่ตรงนี้ผมขอผ่านไปก่อนนะครับ)

- classical education (philology), professor at 25 / เขาจะถนัดในเรื่องของภาษากรีก ไม่ใช่ปรัชญา. แต่ใครก็ตามที่ไปเรียนรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมกรีกก็จะรู้ปรัชญาด้วย และพอมาถึงอายุ 25 ปีเขาได้เป็นศาสตราจารย์ที่สวิสเซอร์แลนด์

- 1879 retired - ill health / เขาเป็นศาสตราจารย์สอนหนังสืออยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ประมาณ 10 ปี ก็ต้องเกษียรอายุตัวเอง เนื่องมาจากเหตุผลทางด้านสุขภาพ นอกจากนี้ก็เนื่องมาจากการเข้ากับคนอื่นไม่ค่อยได้. แต่เหตุผลหลักของเขาเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ คือปวดหัวบ่อยๆ และระบบย่อยอาหารไม่ดี - 1889 insanity till death 1900 / ไม่มีคำที่สุภาพกว่านี้ คือ เขา"บ้า"จนกระทั่งเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1900 รวมแล้วเขาต้องทนทุกข์กับการเสียสติอยู่นานถึง 11 ปี

คิด ว่าไม่มีเวลาที่จะลงไปในรายละเอียด แต่ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าพอสมควร. ผลงานของนิทเช่ที่ได้รับการตีพิมพ์ ปรากฎว่าพี่สาวของเขาเป็นผู้จัดการดำเนินการสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพื่อจะวางจำหน่าย และในช่วงเวลานั้นเกิดความคิดชาตินิยมเยอรมันขึ้นมา พี่สาวของนิทเช่ก็เลยชวนฮิตเลอร์มาดูเขาที่บ้าน และพยายามปรับปรุงแนวคิดของนิทเช่ให้มันเข้ากับแนวคิดนาซีมากพอสมควร เกิดการบิดเบือนขึ้น

หรือแม้แต่ในงานทางด้านศิลปะประเภท art Nouveau (ศิลปะ นูโว) ก็นำเอานิทเช่มาเป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดศิลปะใหม่ๆ ซึ่งผมคิดว่าไม่ค่อยตรงกับสิ่งที่นิทเช่สอน เพราะมันไม่ได้เข้าไปในทฤษฎีหรือหัวใจของนิทเช่. ต่อมาผมขอมาพูดถึงเรื่องของบริบท

2. context (บริบท)
2nd half 19th century / เขามีชีวิตอยู่ในช่วงของปลายของคริสตศตวรรษที่ 19 ซึ่ง นั่นหมายถึงในยุโรปกำลังมีอุตสาหกรรม เพิ่งจะผ่านพ้นการปฏิวัติฝรั่งเศสมา แล้วเหตุการณ์ในทวีปยุโรปเวลานั้นเกิดความวุ่นวายทางด้านเศรษฐกิจและทางการ เมือง. แนวคิด communism และ socialism กำลังก่อกระแสที่จะมาแรง

- Enlightenment waning / อันนี้หมายความว่า บรรยากาศแบบ Enlightenment กำลังจะหายไป. ความคิดแบบ Enlightenment หมายถึงเรื่องของ optimism และ rational เป็น เรื่องของเหตุผล. ถ้าเราย้อนกลับไปถึงคำเรียกร้องของนักปฏิวัติฝรั่งเศส คือ เสรีภาพ ภราดรภาพ และเสมอภาค แสดงถึงความมั่นใจอย่างมาก และเขียนปฏิญานสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี 1789 เขามั่นใจว่าอีกไม่นาน โลกทั้งโลกจะต้องดีขึ้น. ปรากฎว่าในช่วง 1850 เป็นต้นมา optimism (การ มองโลกในแง่ดี)มันหายไปบ้างแล้ว เนื่องมาจากกระบวนการอุตสาหกรรม หมายความว่า คนจะเข้าไปในเมืองกันเยอะ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ค่าเช่าบ้านก็แพง แรงงานเด็กถูกนำมาใช้. หมายความว่า ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่วิทยาศาสตร์ทำ มันไม่เหมือนกันกับที่เขาสัญญาไว้ และมันไม่ได้ optimism อย่างที่พูด

- Democratization, industrialization - unprecedented change / เป็นช่วงเวลาของการปลุกจิตสำนึกเอาไว้ในใจเกี่ยวกับเรื่องของประชาธิปไตย ซึ่งอาจจะเป็น propaganda การโฆษณาชวนเชื่อเสียมากกว่า คือ การเมืองตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาต้องการโฆษณา. Enlightenment ใน ช่วงเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปรัชญา การศึกษายังเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อย มีแต่เฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้นที่ได้เข้าถึงสิ่งเหล่านี้. แต่พอมาถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 18 และมาถึง 19 เป็น mass society. ที่ผมเขียนว่า industrialization - unprecedented change ก็คือในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

- Commercialization, vulgarisation of life; becomes impersonal / สำหรับคำว่า Commercialization ก็คือการทำให้เป็นพาณิชยนิยม เริ่มบริโภคนิยมเข้ามา. vulgarisation of life ชีวิตไม่มีคุณค่านอกจากระบบการผลิต ผู้คนก็เริ่มไร้ตัวตนมากขึ้นในช่วงนี้

- Nietzsche alienated from his culture / นิทเช่เริ่มรู้สึกแปลกแยกจากวัฒนธรรมของเขา. เป็นช่วงเวลาที่มี mass culture เข้ามา. สังเกตนะครับว่านิทเช่ เขาไม่ได้สอนอะไรที่เป็นระบบระเบียบ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งเขามีอยู่ตลอดก็คือ เขาจะ anti ทุกอย่างหมดเลย. อะไรที่เป็น"ลัทธินิยม"หรือ ism ต่างๆ ที่พยายามปลุกอุดมการณ์ เขาจะพยายาม anti หรือต่อต้านทั้งหมด. ทางปรัชญา ผมว่าประเด็นหลักก็คือตัวนี้ ซึ่งเขาไม่ได้สอนนะครับ แต่พอสรุปได้จากงานเขียนของเขา

- Man alone in irrational world / มนุษย์ลำพังเท่านั้นที่อยู่ในโลกที่ไร้เหตุผล

ที่มา : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

ความหมายทั่วไปเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์น



โพสต์โมเดิร์น (
Postmodern) เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฎเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการการเริ่มคิดถึงโพสต์โมเดิร์น ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับยุคสมัยใหม่นิยม ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากยุคสมัยใหม่นิยม(Modernism) มีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernism) เพราะฉะนั้นแนวคิดโพสต์โมเดิร์น หมายถึง แนวคิดที่ยุคสมัยใหม่ถูกตั้งคำถามว่าความจริงต่างๆที่ยุคสมัยใหม่ให้คำตอบแก่มนุษย์โดยวิธีของเหตุผลนั้น เป็นความจริงที่แท้จริงหรือไม่ หรือยังมีความจริงอื่นๆอีกที่อยู่นอกเหนือวิธีการของเหตุและผล ตัวอย่างเช่น เลยฐานสิบในคณิตศาสตร์ แนวคิดโพสต์โมเดิร์นมีความสงสัยว่ายังมีเลขฐานอื่นอีกหรือเปล่าที่สามารถใช้แก้โจทก์สมการเลขคณิตได้ ดังนั้นโพสต์โมเดิร์นจึงเป็นกระแสความคิดที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยมแปลงทางด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม, วัฒนธรรม และเป็นแนวคิดที่ปฏิเสธความจริงแบบโมเดิร์น ที่ยึดถึงกรอบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และกฎเกณฑ์ต่างๆว่าเป็นความจริงสากล แต่โพสต์โมเดิร์นถือว่า “ความจริงมีได้หลายแง่หลายมุม ความงามก็มีได้หลายแง่หลายมุม” (ธีรยุทธ บุญมี, 2550: 7)

โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Jean-Francois Lyotard


Jean-Francois Lyotard ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่าเป็นการเราปฏิเสธวาทกรรมหลัก(grand narrative) นั่นคือ ทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากลของวัฒนธรรมตะวันตก เพราะปัจจุบัน พวกมันได้สูญเสียสถานะความน่าเชื่อถือของมันทั้งหมดลงไปแล้ว หนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการอธิบายลัทธิหลังสมัยใหม่ก็คือ การเคลื่อนไหวทางปรัชญา ซึ่งจะเป็นรูปแบบหนึ่งของความสงสัย(scepticism) เช่น ความสงสัย ไม่เชื่อในอำนาจหน้าที่ อย่างสติปัญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับ, บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และการเมือง ฯลฯ สิ่งที่วางหรือเสนอตัวอยู่ในขนบประเพณีที่มีมาเก่าแก่ในความคิดตะวันตก ความจริงจึงถูกผลิต/สร้างขึ้นเพื่ออำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่นำไปสู่การผลิตเศรษฐกิจแบบ บริโภคนิยมมวลชน (mass consumerism) หรือในโลกที่การสื่อสารได้รุกคืบเข้าครอบครองอาณาเขตในทุกพื้นที่ สร้างความเป็นสังคมข่าวสารที่ประกอบขึ้นจากการจำลอง (simulation) เป็นโลกล้ำความจริง (hyperreality) ก่อเกิดวัฒนธรรมทางสายตา (visual cultural) วัฒนธรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Cultural) เป็นต้น ความจริง ในสังคมจึงถูกนำออกแสดงต่อสาธารณชนโดยผ่านระบบภาษา หรือสิ่งที่มองเห็นได้