วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Jean-Francois Lyotard


Jean-Francois Lyotard ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่าเป็นการเราปฏิเสธวาทกรรมหลัก(grand narrative) นั่นคือ ทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากลของวัฒนธรรมตะวันตก เพราะปัจจุบัน พวกมันได้สูญเสียสถานะความน่าเชื่อถือของมันทั้งหมดลงไปแล้ว หนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการอธิบายลัทธิหลังสมัยใหม่ก็คือ การเคลื่อนไหวทางปรัชญา ซึ่งจะเป็นรูปแบบหนึ่งของความสงสัย(scepticism) เช่น ความสงสัย ไม่เชื่อในอำนาจหน้าที่ อย่างสติปัญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับ, บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และการเมือง ฯลฯ สิ่งที่วางหรือเสนอตัวอยู่ในขนบประเพณีที่มีมาเก่าแก่ในความคิดตะวันตก ความจริงจึงถูกผลิต/สร้างขึ้นเพื่ออำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่นำไปสู่การผลิตเศรษฐกิจแบบ บริโภคนิยมมวลชน (mass consumerism) หรือในโลกที่การสื่อสารได้รุกคืบเข้าครอบครองอาณาเขตในทุกพื้นที่ สร้างความเป็นสังคมข่าวสารที่ประกอบขึ้นจากการจำลอง (simulation) เป็นโลกล้ำความจริง (hyperreality) ก่อเกิดวัฒนธรรมทางสายตา (visual cultural) วัฒนธรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Cultural) เป็นต้น ความจริง ในสังคมจึงถูกนำออกแสดงต่อสาธารณชนโดยผ่านระบบภาษา หรือสิ่งที่มองเห็นได้


1 ความคิดเห็น: