วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Jacques Derrida



Jacques Derrida ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่า เป็นการรื้อสร้าง (Deconstruction) สิ่งที่เขาเสนอคือ การเปิดเผยให้เห็นเงื่อนงำของตัวบท (text) เพื่อเผยการจัดลำดับความสำคัญภายในตัวบทที่ไม่มีมูล การเผยให้เห็นถึงข้อสันนิษฐานที่ตั้งไว้ล่วงหน้า (presupposition) รวมถึงโครงสร้างเชิงอภิปรัชญาที่ซ่อนอยู่ และเพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวคิดแบบ logocentric การยึดถือภาษาว่าเป็นรากฐานการแสดงออกของความจริง ซึ่งวิธีการรื้อสร้างหรือการเขียนใหม่นั้น มีขั้นตอนอยู่ 3 ขั้นคือ การลดทอน การสร้าง และการทำลาย โดยกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้มีความเกี่ยวข้องกันและกัน "การสร้าง(construction) มีความจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวพันกับ "การทำลาย" (destruction) จากนั้นจึงวิเคราะห์" การทำลาย" (destruction) ด้วย "การรื้อโครงสร้าง" (deconstruction) สิ่งใดๆ ที่ใน text ทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏ ที่ตัวบทนั้น (text) สร้างขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิก กล่าวโดยสรุปว่า หลักการข้างต้นนี้เป็นแนวคิดบางประการ ที่นักคิดหลังสมัยใหม่นิยมได้มองและให้ข้อเสนอในเชิงวิพากษ์วิธี ซึ่งท้ายที่สุดแล้วได้ก่อให้เกิดกระแสแนวคิดอื่นๆ ที่ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเด็นของการศึกษาในการพัฒนา โดยกล่าวได้ว่าระเบียบวิธีหลังยุคสมัยใหม่ อาจมองได้เป็น 2 นัยยะ ทั้งในแง่ "post-positivist" และ "anti-positivist" ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ในแต่ละวิธีการได้นำไปสู่การตั้งคำถามและตอบคำถามต่อสิ่งนั้นด้วยวิธีการ อย่างไร เพื่ออะไร ใครเป็นผู้กำหนด ใครเป็นผู้ตอบ ใครได้ประโยชน์ และใครเป็นผู้เสียประโยชน์ ภายใต้การถูกผลิต/สร้างสิ่งนั้นโดยผ่านวาทกรรมและการปฏิบัติการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น