วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Michel Foucault


Michel Foucault ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่า เป็นการตีความวาทกรรม (Discourse) ซึ่งได้ใช้ศัพท์คำนี้ในหนทางที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการอธิบาย วาทกรรมต่างๆ ได้รับการโฆษณาชวนเชื่อโดยสถาบันบางแห่ง และได้แบ่งแยกโลกในหนทางต่างๆ โดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถที่จะพูดถึงวาทกรรมทางการแพทย์ ทางกฎหมาย และทางจิตวิทยาได้ การวิจารณ์ทางวรรณกรรมก็เป็นวาทกรรมหนึ่งด้วย เช่นเดียวกับที่มันเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยคำศัพท์ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับการ แบ่งระดับชั้น (สมเกียรติ ตั้งนโม, 2544) วาทกรรมอาจดูเหมือนศัพท์เทคนิค (technical term) แต่แท้จริงแล้วมันคือเทคนิคของการใช้อำนาจผ่านภาษาและปฏิบัติการชวนเชื่อ ต่างๆ Foucault ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของวาทกรรม (discourse) และการวิเคราะห์วาทกรรม (discourse analysis) ทั้งนี้ในหนังสือเรื่อง The Order of Things ของเขาว่า วาทกรรมโดยทั่วๆ ไป และวาทกรรมแบบวิทยาศาสตร์เป็นการเฉพาะนั้น เป็นความเป็นจริงที่มีความยุ่งยากและมีความสลับซับซ้อนสูงมาก จนทำให้เราไม่เพียงแต่สามารถ แต่ควรที่จะปะทะกับความยุ่งยากสลับซับซ้อนนี้ในต่างระดับและต่างมรรควิธี ด้วย" เขามองว่า การมองการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรม จะช่วยเราสามารถพูดถึงประเด็นปัญหาหนึ่งได้อย่างจริงจังกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ "ความเป็นอื่น" (Other) ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ "ทางเลือกในการพัฒนา" ซึ่ง "ความเป็นอื่น" ของการพัฒนานี้ เป็นการพูดถึงรายละเอียดและกระบวนการของการสร้างเอกลักษณ์/ตัวตนของสิ่งที่ เรียกว่า "การพัฒนา" ว่ามีความเป็นอย่างไร ดังนั้นวาทกรรรมการพัฒนาในรูปแบบใหม่จึงเป็นวาทกรรมของการเปิดพื้นที่ ต่อสู้ช่วงชิงอำนาจในอีกรูปแบบที่เกิดหลังสมัยใหม่ซึ่งต้องการโฆษณา สร้างภาพและสร้างความจริงในอีกรูปแบบที่แตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น