วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

ความหมายทั่วไปเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์น



โพสต์โมเดิร์น (
Postmodern) เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฎเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการการเริ่มคิดถึงโพสต์โมเดิร์น ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับยุคสมัยใหม่นิยม ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากยุคสมัยใหม่นิยม(Modernism) มีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernism) เพราะฉะนั้นแนวคิดโพสต์โมเดิร์น หมายถึง แนวคิดที่ยุคสมัยใหม่ถูกตั้งคำถามว่าความจริงต่างๆที่ยุคสมัยใหม่ให้คำตอบแก่มนุษย์โดยวิธีของเหตุผลนั้น เป็นความจริงที่แท้จริงหรือไม่ หรือยังมีความจริงอื่นๆอีกที่อยู่นอกเหนือวิธีการของเหตุและผล ตัวอย่างเช่น เลยฐานสิบในคณิตศาสตร์ แนวคิดโพสต์โมเดิร์นมีความสงสัยว่ายังมีเลขฐานอื่นอีกหรือเปล่าที่สามารถใช้แก้โจทก์สมการเลขคณิตได้ ดังนั้นโพสต์โมเดิร์นจึงเป็นกระแสความคิดที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยมแปลงทางด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม, วัฒนธรรม และเป็นแนวคิดที่ปฏิเสธความจริงแบบโมเดิร์น ที่ยึดถึงกรอบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และกฎเกณฑ์ต่างๆว่าเป็นความจริงสากล แต่โพสต์โมเดิร์นถือว่า “ความจริงมีได้หลายแง่หลายมุม ความงามก็มีได้หลายแง่หลายมุม” (ธีรยุทธ บุญมี, 2550: 7)

โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Jean-Francois Lyotard


Jean-Francois Lyotard ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่าเป็นการเราปฏิเสธวาทกรรมหลัก(grand narrative) นั่นคือ ทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากลของวัฒนธรรมตะวันตก เพราะปัจจุบัน พวกมันได้สูญเสียสถานะความน่าเชื่อถือของมันทั้งหมดลงไปแล้ว หนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการอธิบายลัทธิหลังสมัยใหม่ก็คือ การเคลื่อนไหวทางปรัชญา ซึ่งจะเป็นรูปแบบหนึ่งของความสงสัย(scepticism) เช่น ความสงสัย ไม่เชื่อในอำนาจหน้าที่ อย่างสติปัญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับ, บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และการเมือง ฯลฯ สิ่งที่วางหรือเสนอตัวอยู่ในขนบประเพณีที่มีมาเก่าแก่ในความคิดตะวันตก ความจริงจึงถูกผลิต/สร้างขึ้นเพื่ออำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่นำไปสู่การผลิตเศรษฐกิจแบบ บริโภคนิยมมวลชน (mass consumerism) หรือในโลกที่การสื่อสารได้รุกคืบเข้าครอบครองอาณาเขตในทุกพื้นที่ สร้างความเป็นสังคมข่าวสารที่ประกอบขึ้นจากการจำลอง (simulation) เป็นโลกล้ำความจริง (hyperreality) ก่อเกิดวัฒนธรรมทางสายตา (visual cultural) วัฒนธรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Cultural) เป็นต้น ความจริง ในสังคมจึงถูกนำออกแสดงต่อสาธารณชนโดยผ่านระบบภาษา หรือสิ่งที่มองเห็นได้


โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Jean Baudrillard



Jean Baudrillard ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่าเป็นโลกแห่งมายาภาพ ที่ซึ่งพวกเราไม่อาจจำแนกความแตกต่างระหว่างความจริง (reality) และมายาภาพ (simulation) ออกจากกันได้อีกแล้ว ภาพเสมือน(simulacra) มันไม่ได้เป็นตัวแทนความจริงของสิ่งใดเลย เว้นแต่ตัวของพวกมันเอง: มันไม่มีความจริงอื่นอีกซึ่งมันอ้างอิงถึง ผลที่ตามมา Baudrillard สามารถอ้างต่อไปว่า ดิสนีย์แลนด์ และโทรทัศน์ ปัจจุบันได้สถาปนาความจริงของอเมริกาขึ้นมา และ ยิ่งไปกว่านั้นซึ่งน่าทึ่งมาก สงครามอ่าวเปอร์เชียมันไม่ได้เกิดขึ้น มันเป็นแต่เพียงความจริงเสมือนอันหนึ่งเท่านั้น ไม่น่าประหลาดใจ อันนี้เป็นทัศนะหนึ่งที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน อย่างรุนแรงและมากมายตามมา สำหรับการเยาะเย้ยถากถาง(cynicism)ที่โดดเด่นของคำพูดนี้ และถูกหาว่า มันเป็นคำพูดที่ขาดเสียซึ่งความรู้สึกอ่อนไหวต่อมติของความเป็นมนุษย์ที่ เข้ามาเกี่ยวข้อง

ข้ออ้างเหตุผลอีกประการหนึ่งของ Baudrillard ก็คือ นั่นได้ให้แรงดลใจต่อการโต้เถียงค่อนข้างมากที่ว่า ระบบต่างๆนั้น ไม่ต้องถูกต่อต้านอีกต่อไปแล้ว เพราะพวกเขาจะถูกล่อลวงแทน โดยที่เขาหมายถึง การล่อลวงให้ตกอยู่ในภาวะจำยอม บรรดานักสิทธิสตรีทั้งหลายได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับสิ่งที่พวก เธอพิจารณาหรือถือว่า เป็นอคติการแบ่งแยกทางเพศ โดยรูปแบบของความคิดเกี่ยวกับการล่อลวง และกล่าวหา Baudrillard เกี่ยวกับทัศนคติตายตัวในเรื่องเพศ ที่เสริมเพิ่มพลังขึ้นมาใหม่โดยการใช้ประโยชน์ของมัน ขณะเดียวกันมีการยอมรับพลังของข้อถกเถียงของนักสิทธิสตรี ใครสักคนอาจถือว่าการล่อลวงเป็นความพยายามของหลังสมัยใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะอีกอันหนึ่งด้วย ในการขุดเซาะระบบต่างๆโดยการหาจุดต่างๆที่อ่อนแอของพวกมัน โดยทั่วไป ปรัชญาหลังสมัยใหม่มองว่า ไม่ต้องการการเผชิญหน้าอย่างตรงไปตรงมากับระบบทั้งหลายที่ทรงอำนาจ อันที่จริงเพียงเอาใจใส่ต่อการสาธิตให้เห็นว่าระบบต่างๆนั้น สามารถถูกทำให้ระเบิดขึ้นมาจากภายในได้อย่างไรเท่านั้น

โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Michel Foucault


Michel Foucault ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่า เป็นการตีความวาทกรรม (Discourse) ซึ่งได้ใช้ศัพท์คำนี้ในหนทางที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการอธิบาย วาทกรรมต่างๆ ได้รับการโฆษณาชวนเชื่อโดยสถาบันบางแห่ง และได้แบ่งแยกโลกในหนทางต่างๆ โดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถที่จะพูดถึงวาทกรรมทางการแพทย์ ทางกฎหมาย และทางจิตวิทยาได้ การวิจารณ์ทางวรรณกรรมก็เป็นวาทกรรมหนึ่งด้วย เช่นเดียวกับที่มันเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยคำศัพท์ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับการ แบ่งระดับชั้น (สมเกียรติ ตั้งนโม, 2544) วาทกรรมอาจดูเหมือนศัพท์เทคนิค (technical term) แต่แท้จริงแล้วมันคือเทคนิคของการใช้อำนาจผ่านภาษาและปฏิบัติการชวนเชื่อ ต่างๆ Foucault ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของวาทกรรม (discourse) และการวิเคราะห์วาทกรรม (discourse analysis) ทั้งนี้ในหนังสือเรื่อง The Order of Things ของเขาว่า วาทกรรมโดยทั่วๆ ไป และวาทกรรมแบบวิทยาศาสตร์เป็นการเฉพาะนั้น เป็นความเป็นจริงที่มีความยุ่งยากและมีความสลับซับซ้อนสูงมาก จนทำให้เราไม่เพียงแต่สามารถ แต่ควรที่จะปะทะกับความยุ่งยากสลับซับซ้อนนี้ในต่างระดับและต่างมรรควิธี ด้วย" เขามองว่า การมองการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรม จะช่วยเราสามารถพูดถึงประเด็นปัญหาหนึ่งได้อย่างจริงจังกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ "ความเป็นอื่น" (Other) ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ "ทางเลือกในการพัฒนา" ซึ่ง "ความเป็นอื่น" ของการพัฒนานี้ เป็นการพูดถึงรายละเอียดและกระบวนการของการสร้างเอกลักษณ์/ตัวตนของสิ่งที่ เรียกว่า "การพัฒนา" ว่ามีความเป็นอย่างไร ดังนั้นวาทกรรรมการพัฒนาในรูปแบบใหม่จึงเป็นวาทกรรมของการเปิดพื้นที่ ต่อสู้ช่วงชิงอำนาจในอีกรูปแบบที่เกิดหลังสมัยใหม่ซึ่งต้องการโฆษณา สร้างภาพและสร้างความจริงในอีกรูปแบบที่แตกต่างกัน

โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Jacques Derrida



Jacques Derrida ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่า เป็นการรื้อสร้าง (Deconstruction) สิ่งที่เขาเสนอคือ การเปิดเผยให้เห็นเงื่อนงำของตัวบท (text) เพื่อเผยการจัดลำดับความสำคัญภายในตัวบทที่ไม่มีมูล การเผยให้เห็นถึงข้อสันนิษฐานที่ตั้งไว้ล่วงหน้า (presupposition) รวมถึงโครงสร้างเชิงอภิปรัชญาที่ซ่อนอยู่ และเพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวคิดแบบ logocentric การยึดถือภาษาว่าเป็นรากฐานการแสดงออกของความจริง ซึ่งวิธีการรื้อสร้างหรือการเขียนใหม่นั้น มีขั้นตอนอยู่ 3 ขั้นคือ การลดทอน การสร้าง และการทำลาย โดยกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้มีความเกี่ยวข้องกันและกัน "การสร้าง(construction) มีความจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวพันกับ "การทำลาย" (destruction) จากนั้นจึงวิเคราะห์" การทำลาย" (destruction) ด้วย "การรื้อโครงสร้าง" (deconstruction) สิ่งใดๆ ที่ใน text ทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏ ที่ตัวบทนั้น (text) สร้างขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิก กล่าวโดยสรุปว่า หลักการข้างต้นนี้เป็นแนวคิดบางประการ ที่นักคิดหลังสมัยใหม่นิยมได้มองและให้ข้อเสนอในเชิงวิพากษ์วิธี ซึ่งท้ายที่สุดแล้วได้ก่อให้เกิดกระแสแนวคิดอื่นๆ ที่ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเด็นของการศึกษาในการพัฒนา โดยกล่าวได้ว่าระเบียบวิธีหลังยุคสมัยใหม่ อาจมองได้เป็น 2 นัยยะ ทั้งในแง่ "post-positivist" และ "anti-positivist" ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ในแต่ละวิธีการได้นำไปสู่การตั้งคำถามและตอบคำถามต่อสิ่งนั้นด้วยวิธีการ อย่างไร เพื่ออะไร ใครเป็นผู้กำหนด ใครเป็นผู้ตอบ ใครได้ประโยชน์ และใครเป็นผู้เสียประโยชน์ ภายใต้การถูกผลิต/สร้างสิ่งนั้นโดยผ่านวาทกรรมและการปฏิบัติการ