วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Jean Baudrillard



Jean Baudrillard ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่าเป็นโลกแห่งมายาภาพ ที่ซึ่งพวกเราไม่อาจจำแนกความแตกต่างระหว่างความจริง (reality) และมายาภาพ (simulation) ออกจากกันได้อีกแล้ว ภาพเสมือน(simulacra) มันไม่ได้เป็นตัวแทนความจริงของสิ่งใดเลย เว้นแต่ตัวของพวกมันเอง: มันไม่มีความจริงอื่นอีกซึ่งมันอ้างอิงถึง ผลที่ตามมา Baudrillard สามารถอ้างต่อไปว่า ดิสนีย์แลนด์ และโทรทัศน์ ปัจจุบันได้สถาปนาความจริงของอเมริกาขึ้นมา และ ยิ่งไปกว่านั้นซึ่งน่าทึ่งมาก สงครามอ่าวเปอร์เชียมันไม่ได้เกิดขึ้น มันเป็นแต่เพียงความจริงเสมือนอันหนึ่งเท่านั้น ไม่น่าประหลาดใจ อันนี้เป็นทัศนะหนึ่งที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน อย่างรุนแรงและมากมายตามมา สำหรับการเยาะเย้ยถากถาง(cynicism)ที่โดดเด่นของคำพูดนี้ และถูกหาว่า มันเป็นคำพูดที่ขาดเสียซึ่งความรู้สึกอ่อนไหวต่อมติของความเป็นมนุษย์ที่ เข้ามาเกี่ยวข้อง

ข้ออ้างเหตุผลอีกประการหนึ่งของ Baudrillard ก็คือ นั่นได้ให้แรงดลใจต่อการโต้เถียงค่อนข้างมากที่ว่า ระบบต่างๆนั้น ไม่ต้องถูกต่อต้านอีกต่อไปแล้ว เพราะพวกเขาจะถูกล่อลวงแทน โดยที่เขาหมายถึง การล่อลวงให้ตกอยู่ในภาวะจำยอม บรรดานักสิทธิสตรีทั้งหลายได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับสิ่งที่พวก เธอพิจารณาหรือถือว่า เป็นอคติการแบ่งแยกทางเพศ โดยรูปแบบของความคิดเกี่ยวกับการล่อลวง และกล่าวหา Baudrillard เกี่ยวกับทัศนคติตายตัวในเรื่องเพศ ที่เสริมเพิ่มพลังขึ้นมาใหม่โดยการใช้ประโยชน์ของมัน ขณะเดียวกันมีการยอมรับพลังของข้อถกเถียงของนักสิทธิสตรี ใครสักคนอาจถือว่าการล่อลวงเป็นความพยายามของหลังสมัยใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะอีกอันหนึ่งด้วย ในการขุดเซาะระบบต่างๆโดยการหาจุดต่างๆที่อ่อนแอของพวกมัน โดยทั่วไป ปรัชญาหลังสมัยใหม่มองว่า ไม่ต้องการการเผชิญหน้าอย่างตรงไปตรงมากับระบบทั้งหลายที่ทรงอำนาจ อันที่จริงเพียงเอาใจใส่ต่อการสาธิตให้เห็นว่าระบบต่างๆนั้น สามารถถูกทำให้ระเบิดขึ้นมาจากภายในได้อย่างไรเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น