โพสต์โมเดิร์น (Postmodern) เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฎเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการการเริ่มคิดถึงโพสต์โมเดิร์น ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับยุคสมัยใหม่นิยม ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากยุคสมัยใหม่นิยม(Modernism) มีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernism) เพราะฉะนั้นแนวคิดโพสต์โมเดิร์น หมายถึง “แนวคิดที่ยุคสมัยใหม่ถูกตั้งคำถามว่าความจริงต่างๆที่ยุคสมัยใหม่ให้คำตอบแก่มนุษย์โดยวิธีของเหตุผลนั้น เป็นความจริงที่แท้จริงหรือไม่ หรือยังมีความจริงอื่นๆอีกที่อยู่นอกเหนือวิธีการของเหตุและผล” ตัวอย่างเช่น เลยฐานสิบในคณิตศาสตร์ แนวคิดโพสต์โมเดิร์นมีความสงสัยว่ายังมีเลขฐานอื่นอีกหรือเปล่าที่สามารถใช้แก้โจทก์สมการเลขคณิตได้ ดังนั้นโพสต์โมเดิร์นจึงเป็นกระแสความคิดที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยมแปลงทางด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม, วัฒนธรรม และเป็นแนวคิดที่ปฏิเสธความจริงแบบโมเดิร์น ที่ยึดถึงกรอบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และกฎเกณฑ์ต่างๆว่าเป็นความจริงสากล แต่โพสต์โมเดิร์นถือว่า “ความจริงมีได้หลายแง่หลายมุม ความงามก็มีได้หลายแง่หลายมุม” (ธีรยุทธ บุญมี, 2550: 7)
วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552
ความหมายทั่วไปเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์น
โพสต์โมเดิร์น (Postmodern) เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฎเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการการเริ่มคิดถึงโพสต์โมเดิร์น ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับยุคสมัยใหม่นิยม ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากยุคสมัยใหม่นิยม(Modernism) มีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernism) เพราะฉะนั้นแนวคิดโพสต์โมเดิร์น หมายถึง “แนวคิดที่ยุคสมัยใหม่ถูกตั้งคำถามว่าความจริงต่างๆที่ยุคสมัยใหม่ให้คำตอบแก่มนุษย์โดยวิธีของเหตุผลนั้น เป็นความจริงที่แท้จริงหรือไม่ หรือยังมีความจริงอื่นๆอีกที่อยู่นอกเหนือวิธีการของเหตุและผล” ตัวอย่างเช่น เลยฐานสิบในคณิตศาสตร์ แนวคิดโพสต์โมเดิร์นมีความสงสัยว่ายังมีเลขฐานอื่นอีกหรือเปล่าที่สามารถใช้แก้โจทก์สมการเลขคณิตได้ ดังนั้นโพสต์โมเดิร์นจึงเป็นกระแสความคิดที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยมแปลงทางด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม, วัฒนธรรม และเป็นแนวคิดที่ปฏิเสธความจริงแบบโมเดิร์น ที่ยึดถึงกรอบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และกฎเกณฑ์ต่างๆว่าเป็นความจริงสากล แต่โพสต์โมเดิร์นถือว่า “ความจริงมีได้หลายแง่หลายมุม ความงามก็มีได้หลายแง่หลายมุม” (ธีรยุทธ บุญมี, 2550: 7)
โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Jean-Francois Lyotard
Jean-Francois Lyotard ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่าเป็นการเราปฏิเสธวาทกรรมหลัก(grand narrative) นั่นคือ ทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากลของวัฒนธรรมตะวันตก เพราะปัจจุบัน พวกมันได้สูญเสียสถานะความน่าเชื่อถือของมันทั้งหมดลงไปแล้ว หนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการอธิบายลัทธิหลังสมัยใหม่ก็คือ การเคลื่อนไหวทางปรัชญา ซึ่งจะเป็นรูปแบบหนึ่งของความสงสัย(scepticism) เช่น ความสงสัย ไม่เชื่อในอำนาจหน้าที่ อย่างสติปัญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับ, บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และการเมือง ฯลฯ สิ่งที่วางหรือเสนอตัวอยู่ในขนบประเพณีที่มีมาเก่าแก่ในความคิดตะวันตก ความจริงจึงถูกผลิต/สร้างขึ้นเพื่ออำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่นำไปสู่การผลิตเศรษฐกิจแบบ บริโภคนิยมมวลชน (mass consumerism) หรือในโลกที่การสื่อสารได้รุกคืบเข้าครอบครองอาณาเขตในทุกพื้นที่ สร้างความเป็นสังคมข่าวสารที่ประกอบขึ้นจากการจำลอง (simulation) เป็นโลกล้ำความจริง (hyperreality) ก่อเกิดวัฒนธรรมทางสายตา (visual cultural) วัฒนธรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Cultural) เป็นต้น ความจริง ในสังคมจึงถูกนำออกแสดงต่อสาธารณชนโดยผ่านระบบภาษา หรือสิ่งที่มองเห็นได้
โพสโมเดิร์นตามแนวคิดของ Jean Baudrillard
Jean Baudrillard ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์นว่าเป็นโลกแห่งมายาภาพ ที่ซึ่งพวกเราไม่อาจจำแนกความแตกต่างระหว่างความจริง (reality) และมายาภาพ (simulation) ออกจากกันได้อีกแล้ว ภาพเสมือน(simulacra) มันไม่ได้เป็นตัวแทนความจริงของสิ่งใดเลย เว้นแต่ตัวของพวกมันเอง: มันไม่มีความจริงอื่นอีกซึ่งมันอ้างอิงถึง ผลที่ตามมา Baudrillard สามารถอ้างต่อไปว่า ดิสนีย์แลนด์ และโทรทัศน์ ปัจจุบันได้สถาปนาความจริงของอเมริกาขึ้นมา และ ยิ่งไปกว่านั้นซึ่งน่าทึ่งมาก สงครามอ่าวเปอร์เชียมันไม่ได้เกิดขึ้น มันเป็นแต่เพียงความจริงเสมือนอันหนึ่งเท่านั้น ไม่น่าประหลาดใจ อันนี้เป็นทัศนะหนึ่งที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน อย่างรุนแรงและมากมายตามมา สำหรับการเยาะเย้ยถากถาง(cynicism)ที่โดดเด่นของคำพูดนี้ และถูกหาว่า มันเป็นคำพูดที่ขาดเสียซึ่งความรู้สึกอ่อนไหวต่อมติของความเป็นมนุษย์ที่ เข้ามาเกี่ยวข้อง